เมื่อน้องเบาหวานป่วย Sick Day Management
เด็ก ๆ คงหนีไม่พ้นความเจ็บป่วยเมื่อไปโรงเรียนหรือที่ที่มีคนเยอะ ๆ สิ่งสำคัญเลยก็คือ “วัคซีน” น้องเบาหวานอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ วัคซีนประจำปีต้องฉีดให้ครบ แต่เมื่อป่วยแล้วจะดูแลยังไงและต้องเจอกับอะไรบ้าง
ทำไม Sick Day Management ถึงสำคัญ
เมื่อน้องเบาหวานป่วยจะคุมน้ำตาลค่อนข้างยาก ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ ถ้าร่างกายได้รับอินซูลินไม่เพียงพอจะเริ่มเผาผลาญไขมันเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน และเมื่อนั้นร่างกายจะเกิดคีโตน ซึ่งเป็นสาเหตุของ Diabetic ketoacidosis (DKA) ภาวะคีโตซิส ให้ดูแลเหมือนเด็กป่วยปกติทั่วไป ตัวร้อนให้เช็ดตัว โดยถูย้อนรูขุมขน ดื่มน้ำให้มาก ๆ และห้ามงดฉีดอินซูลิน พยายามให้ทานอาหารอ่อน
วิธีดูแลในวันที่ฉันป่วย
- ตรวจระดับน้ำตาลทุก 2-4 ชั่วโมงในตอนกลางคืน
- ห้ามงดฉีดอินซูลิน
- อาจต้องเพิ่มอินซูลินเพื่อช่วยจัดการระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
- อาจต้องลดอินซูลินให้น้อยลงเมื่ออาเจียน ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร
- เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำ 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) หรือเครื่องดื่ม sugar-free ทุกหนึ่งชั่วโมงหลังตื่นนอน เช่น น้ำซุปกระดูกหมู น้ำซุปไก่ น้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาล Jello-o sugarfree
- ถ้าทานอาหารไม่ได้เลย ให้ทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมทุก 1 ชั่วโมง หรือคาร์โบไฮเดรต 45 กรัม ทุก 3-4 ชั่วโมง โดยใช้หลักการอาหารแลกเปลี่ยน เช่น นมจืด 1 กล่อง, แครกเกอร์ 1 ห่อ, ขนมปัง 1 แผ่น, ผลไม้ 1 ส่วน, น้ำผลไม้ 3/4 ถ้วย, เกเตอเรด 1 แก้ว เป็นต้น
- แก้ไขน้ำตาลในเลือดสูง
ของที่ต้องใช้
- กลูโคสเม็ด, กลูโคสเจล, น้ำหวานเข้มข้น, น้ำผึ้ง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- เครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล น้ำซุป น้ำดื่ม
- ปรอทวัดไข้
- เครื่องตรวจคีโตนหรือแผ่นตรวจคีโตน (แผ่นตรวจคีโตนเมื่อเปิดใช้แล้ว ไม่ควรเก็บไว้เกินสามเดือน)
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
- อาเจียน 2 ครั้งภายในเวลา 12 ชั่วโมง
- เมื่ออาเจียนหรือท้องเสีย ไม่ดื่มน้ำและทานอาหารเกิน 4 ชั่วโมง
- หลังจากป่วย 24 ชั่วโมง รู้สึกอาการแย่ลง
- เมื่อฉีดอินซูลินเพิ่ม (ฉีดเก็บ) แต่ค่าน้ำตาลไม่ลด
- เมื่อมีอาการของ DKA เช่น ลมหายใจกลิ่นผลไม้ ปวดท้อง คลื่นไส้ หายใจหอบเหนื่อย
- เมื่อทำทุกอย่างแล้ว แต่ระดับน้ำตาลไม่สูงเกินกว่า 70 mg/dl
ควรตรวจคีโตนเมื่อไหร่
- เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกิน 240 mg/dl สองครั้งติดกัน ให้เช็กคีโตนทุกสี่ชั่วโมง
- ถ้าตรวจพบคีโตน อาจต้องเพิ่มอินซูลินเพื่อให้ระดับน้ำตาลลดลง
สูตรลดระดับน้ำตาลในเลือด 1 Ketone Checks: Guidelines for children on injections
คีโตนในปัสสาวะ | คีโตนในเลือด | เพิ่มอินซูลิน rapid-acting |
Negative | น้อยกว่า 0.6 | ไม่ต้องเพิ่มอินซูลิน |
Small | 0.6-1.5 | เพิ่มอินซูลิน 5% ตรวจระดับน้ำตาลทุก 3 ชั่วโมง |
Moderate | 1.5-3 | เพิ่มอินซูลิน 10% ตรวจระดับน้ำตาลทุก 3 ชั่วโมง หรือพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ |
Large | มากกว่า 3 ขึ้นไป | เพิ่มอินซูลิน 20% ตรวจระดับน้ำตาลทุก 3 ชั่วโมง แนะนำพบแพทย์ด่วนค่ะ |
สูตรลดระดับน้ำตาลในเลือด 2
(current BG – target BG) ÷ correction factor = จำนวนอินซูลินยูนิต
สมมติว่า
- correction factor ของเราคือ 1: 200 (ค่า correction factor ของใครของมันนะคะ)
- current BG ระดับน้ำตาลตอนนี้คือ 500 mg/dl
- target BG เป้าหมายระดับน้ำตาลที่ต้องการคือ 130 mg/dl
วิธีคิด
(Current BG 500 – 130 target BG) = 370
เมื่อนำระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้นลบด้วยเป้าหมายระดับน้ำตาลที่ต้องการ จะได้ 370
จากนั้นนำมาหารกับค่า correction factor ของเรา (ในที่นี้สมมติว่า correction factor คือ 1:200) จะได้ 370 ÷ 200 = 1.85 ยูนิต
ตัวเลข 1.85 คือจำนวนยูนิตที่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลของเราลดลงจาก 500 mg/dl เหลือ 130 mg/dl
น้ำตาลสูงและมีคีโตน
หลังจากที่เราคำนวณปริมาณอินซูลินฉีดเก็บแล้ว ถ้าเราตรวจพบคีโตนก็สามารถแก้ไขได้เองที่บ้าน
ถ้ามีคีโตน 1+ หรือ 2+ ให้คูณ 1.5
ให้ใช้ปริมาณอินซูลินที่เราคำนวณได้จากตัวอย่างด้านบน x 1.5 = ปริมาณอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและคีโตน
ถ้ามีคีโตน 3+ หรือ 4+ ให้คูณ 2
ให้ใช้ปริมาณอินซูลินที่เราคำนวณได้จากตัวอย่างด้านบน x 2 = ปริมาณอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและคีโตน
ตัวอย่าง
สูตร (current BG – target BG) ÷ correction factor = จำนวนอินซูลินยูนิต x ปริมาณคีโตน = จำนวนอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและแก้คีโตน
ตัวอย่างที่ 1 เราได้ปริมาณอินซูลินฉีดเก็บจากตัวอย่างด้านบน 1.85 ยูนิต ตรวจพบคีโตน 2+
1.85 x 1.5 = 2.7 ยูนิต สำหรับแก้น้ำตาลสูงและคีโตน
ตัวอย่างที่ 2 เราได้ปริมาณอินซูลินฉีดเก็บฉีดเก็บจากตัวอย่างด้านบน 1.85 ยูนิต ตรวจพบคีโตน 4+
1.85 x 2 = 3.7 ยูนิต สำหรับแก้น้ำตาลสูงและคีโตน
แนวทางแก้ไขสำหรับอินซูลินปั๊ม
ถ้าระดับน้ำตาลเกิน 300 mg/dl และตรวจไม่พบคีโตน
- ให้อินซูลินปั๊มคำนวณฉีดเก็บ
- หลังฉีด 1 ชั่วโมงให้เช็กระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลลดลงอย่างน้อย 50 จุด ถ้าระดับน้ำตาลดลงน้อยกว่า 50 จุด ให้คิดไว้ก่อนว่าสายปั๊มอาจมีปัญหา พับ หัก ทำให้ร่างกายได้รับอินซูลินฉีดเก็บไม่เต็มที่ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไป
- ให้พิจารณาฉีดเก็บด้วยเข็มไซริงก์หรือเข็มปากกา ให้ฉีดเก็บอีก 1/2 โดสของรอบก่อน และตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้ง
- เปลี่ยนสายปั๊มและบริเวณที่ติด
- รีสตาร์ตปั๊มและเช็กระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากหนึ่งชั่วโมง ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างน้อย 50 จุด ให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดต่อไปตามปกติ ถ้าน้ำตาลลดลงน้อยกว่า 50 จุด ให้เช็กคีโตน ถ้าตรวจพบคีโตนให้ increase temporary basal 10-20% ประมาณ 4 ชั่วโมง และดูว่าระดับน้ำตาลลดลงหรือไม่ ถ้ายังไม่ลดลงให้ปรึกษาแพทย์
ถ้าระดับน้ำตาลเกิน 300 mg/dl และตรวจพบคีโตน
- ให้พิจารณาฉีดเก็บด้วยเข็มไซริงก์หรือเข็มปากกา ถ้าคีโตนอยู่ในระดับ moderate ให้เพิ่ม correction 10%
- ถ้าคีโตนอยู่ในระดับ Large ให้เพิ่ม correction 20%
- Disconnect infusion set จากนั้นเปลี่ยนสายและบริเวณติดปั๊ม
- เพิ่ม temporary basal 10-20% ประมาณ 4 ชั่วโมง และดูว่าระดับน้ำตาลลดลงหรือไม่ ถ้ายังไม่ลดลงให้ปรึกษาแพทย์
รีบไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดท้องรุนแรง
- หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย
- ร่างกายมีสัญญาณการขาดน้ำ เช่น ง่วงนอนผิดปกติหรือปลุกยาก ผิวและริมฝีปากแห้ง ตาลึก หรือถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
- มีไข้สูง 40 องศา นานกว่า 24 ชั่วโมง
- ระดับน้ำตาลสูง ไม่ยอมลด และตรวจพบคีโตน
อ้างอิง
- https://diabetes.ucsf.edu/sites/diabetes.ucsf.edu/files/Sick%20Day%20Final%2011%2023%2009_0.pdf
- http://www.stmichaelshospital.com/pdf/programs/diabetes/sick-day-management-type-1-diabetes.pdf
Comprar Cialis Andorra Precio crycle cialis buy online smismadmiday China Syntroid