แก้ไขน้ำตาลในเลือดสูง
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คือ เป้าหมายสำคัญของโรคเบาหวาน โดยเฉพาะน้องเบาหวานชนิดที่ 1 หลายครั้งที่น้องเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือภาวะ hyperglycemia เราไม่ควรปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงนาน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับร่างกายน้องเบาหวานในระยะยาว การที่มีระดับสูงอาจส่งผลต่อ หัวใจ ตา ระบบประสาทในวันข้างหน้า ควรรีบแก้ไขทันทีถ้าระดับน้ำตาลสูงเกิน 250 mg/dl (สำหรับน้องเบาหวานที่ติด CGM ให้ใช้การเจาะปลายนิ้วเพื่อยืนยันน้ำตาลสูงเท่านั้น) มาดูสาเหตุของน้ำตาลสูงกันค่ะ
สาเหตุของระดับน้ำตาลสูง
สาเหตุของ Hyperglycemia หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีหลายสาเหตุแตกต่างกันไป | |
อาหาร | อาหารอาจทำระดับน้ำตาลในเลือดสูงถ้าร่างกายได้รับอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะการนับคาร์โบไฮเดรตเป็นกรัมไม่ถูกต้อง หรือลืมฉีด bolus ก่อนมื้ออาหาร |
เจ็บป่วยหรือติดเชื้อ | การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อ (เช่น หวัด, ไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสลงกระเพาะ) สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ถ้าใครใช้ปั๊มให้เพิ่ม temporary basal ถ้าใครใช้เข็มปากกาหรือไซริงก์ให้ฉีดเก็บ |
ความเครียด | ความเครียดทางอารมณ์และร่างกายเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำตาลสูง |
ยาบางชนิด | ยาบางชนิดส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจสอบว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อระดับน้ำตาลหรือไม่ |
อินซูลินเสื่อม | อินซูลินเสื่อมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุเกิดจากการเก็บรักษาอินซูลินไม่ถูกวิธี เก็บไว้ในที่ร้อนจัด โดนแดด หรือแช่แข็ง ดูวิธีเก็บรักษาอินซูลินที่นี่ |
ไม่ได้รับอินซูลิน | ร่างกายไม่ได้รับอินซูลินโดยเฉพาะคนที่ติดอินซูลินปั๊ม มักพบปัญหาเข็มหรือสาย พับ หัก งอ รั่ว ทำให้อินซูลินไม่เข้าร่างกาย เรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าพบระดับน้ำตาลสูงโดยหาสาเหตุไม่ได้ ให้ตรวจสอบ infusion set ดูว่าปกติดีหรือไม่ โดยเฉพาะระดับน้ำตาลไม่ลดลงถึงแม้จะกดฉีด bolus ไปแล้ว |
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่ากับ 250 mg/dl หรือมากกว่า
- ตรวจคีโตน ดูว่ามีคีโตนหรือไม่
- ถ้าไม่มีคีโตน ให้ออกกำลังกาย และดื่มน้ำบ่อย ๆ ชั่วโมงละ 200-300 ซีซี แล้วปัสสาวะ ทำซ้ำต่อไป 1-2 ครั้ง แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำตาลยังไม่ลงให้คำนวณฉีดเก็บ
- ถ้ามีคีโตน ดื่มน้ำบ่อย ๆ ชั่วโมงละ 200-300 ซีซี แล้วปัสสาวะ ทำซ้ำต่อไป 1-2 ครั้ง งดออกกำลังกาย ถ้าระดับน้ำตาลยังไม่ลดให้ฉีดเก็บและตรวจคีโตนอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำตาลยังไม่ลดและยังตรวจพบคีโตนให้พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
- งดทานอาหาร High GI ให้ทานอาหาร Low GI เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ
- ทานไฟเบอร์ให้มากขึ้น เช่น แอปเปิล ผักโขม เป็นต้น
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ความเครียดมีผลต่อระดับน้ำตาล
- ตรวจอินซูลิน วันหมดอายุ, ขวดยามีรอยร้าว, สีขุ่น, หัวเข็มตัน, วิธีเก็บรักษา ให้พิจารณาเปลี่ยนหลอดยาอินซูลิน
สำหรับน้องเบาหวานชนิดที่ 1 เป้าหมายน้ำตาลหลังอาหารสองชั่วโมงคือ 180 mg/dl ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหรือหลังตื่นนอนไม่ควรเกิน 130 mg/dl จำไว้ว่าเมื่อระดับน้ำตาลในร่างกายสูง ร่างกายจะขาดน้ำ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง ถ้าระดับน้ำตาลยังไม่ลด ให้พิจารณาเปลี่ยนหลอดยาอินซูลิน ซึ่งบางครั้งยาอาจเสียเพราะการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง สำหรับน้องที่ใช้ปั๊มให้เช็กดูสายหรือเข็มว่าพับ หัก งอ หรือไม่ บางครั้งอินซูลินอาจไม่เข้า ให้แก้ไขน้ำตาลสูงเบื้องต้นไปก่อน
อย่าลืมว่าการออกกำลังกายและนับคาร์บนั้นสำคัญ การนับคาร์บที่ถูกต้องช่วยให้ปริมาณอินซูลินที่สมดุล ในขณะที่อาหารหรือผลิตภัณฑ์บางชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอย่าลืมวิธีการเก็บรักษาอินซูลินให้ถูกต้องเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน
คำนวณอินซูลินสำหรับแก้ไขน้ำตาลสูงและคีโตน
ถ้าเราปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงนาน ๆ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว การแก้ไขน้ำตาลสูงนั้นไม่ยากอย่างที่คิด แต่ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า Correction factor หรือ Insulin Sensitivity Factors (ISF) ของเราอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าไม่ทราบให้ถามคุณหมอดูค่ะ
correction factor หรือ Insulin Sensitivity Factors (ISF) คือ ความไวของร่างกายต่ออินซูลิน 1 ยูนิต ตัวอย่างเช่น correction factor 1: 200 นั่นหมายความว่าอินซูลิน 1 ยูนิตจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของเราลดลง 200 mg/dL หรือ 200 จุด
สูตรคำนวณฉีดเก็บ
(current BG – target BG) ÷ correction factor = จำนวนอินซูลินยูนิต
สมมติว่า
- correction factor ของเราคือ 1: 200 (ค่า correction factor ของใครของมันนะคะ)
- current BG ระดับน้ำตาลตอนนี้คือ 500 mg/dl
- target BG เป้าหมายระดับน้ำตาลที่ต้องการคือ 130 mg/dl
วิธีคิด
(Current BG 500 – 130 target BG) = 370
เมื่อนำระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้นลบด้วยเป้าหมายระดับน้ำตาลที่ต้องการ จะได้ 370
จากนั้นนำมาหารกับค่า correction factor ของเรา (ในที่นี้สมมติว่า correction factor คือ 1:200) จะได้ 370 ÷ 200 = 1.85 ยูนิต
ตัวเลข 1.85 คือจำนวนยูนิตที่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลของเราลดลงจาก 500 mg/dl เหลือ 130 mg/dl
น้ำตาลสูงและมีคีโตน
หลังจากที่เราคำนวณปริมาณอินซูลินฉีดเก็บแล้ว ถ้าเราตรวจพบคีโตนก็สามารถแก้ไขได้เองที่บ้าน
ถ้ามีคีโตน 1+ หรือ 2+ ให้คูณ 1.5
ให้ใช้ปริมาณอินซูลินที่เราคำนวณได้จากตัวอย่างด้านบน x 1.5 = ปริมาณอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและคีโตน
ถ้ามีคีโตน 3+ หรือ 4+ ให้คูณ 2
ให้ใช้ปริมาณอินซูลินที่เราคำนวณได้จากตัวอย่างด้านบน x 2 = ปริมาณอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและคีโตน
ตัวอย่าง
สูตร (current BG – target BG) ÷ correction factor = จำนวนอินซูลินยูนิต x ปริมาณคีโตน = จำนวนอินซูลินสำหรับฉีดเก็บและแก้คีโตน
ตัวอย่างที่ 1 เราได้ปริมาณอินซูลินฉีดเก็บจากตัวอย่างด้านบน 1.85 ยูนิต ตรวจพบคีโตน 2+
1.85 x 1.5 = 2.7 ยูนิต สำหรับแก้น้ำตาลสูงและคีโตน
ตัวอย่างที่ 2 เราได้ปริมาณอินซูลินฉีดเก็บฉีดเก็บจากตัวอย่างด้านบน 1.85 ยูนิต ตรวจพบคีโตน 4+
1.85 x 2 = 3.7 ยูนิต สำหรับแก้น้ำตาลสูงและคีโตน
หลังจากฉีดเก็บ 1 ชั่วโมง ให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง ถ้าน้ำตาลในเลือดยังสูง
ไม่ควรฉีดเก็บซ้ำ ห้ามฉีดเก็บถ้ายังไม่ครบ 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
อ้างอิงจาก
- https://www.medtronicdiabetes.com/sites/default/files/library/download-library/workbooks/BasicsofInsulinPumpTherapy.pdf
viagra samples female viagra pills australia best generic viagra
canadian pharmacy reviews nearest drugstore drugstore cowboy
best drug store foundation erectile best drugstore highlighter
family pharmacy approved canadian online pharmacies 24 hr pharmacy near me
drug rx indian pharmacy professional pharmacy